อ ตามหลักการแล้ว การที่วัตถุใดจะจมหรือลอยน้ำนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมวลหรือน้ำหนักของวัตถุเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เรียกว่า ความหนาแน่น ของวัตถุนั้น
อออออ ความหนาแน่น (density, สัญลักษณ์: ρ อักษรกรีก อ่านว่า โร ) เป็นอัตราส่วนของมวลต่อปริมาตรของสาร ในระบบ S.I. มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ความหนาแน่นเฉลี่ย (average density) หาได้จากผลหารระหว่างมวลรวมกับปริมาตรรวม ดังสมการ
ความหนาแน่นเฉลี่ย (average density) หาได้จากผลหารระหว่างมวลรวมกับปริมาตรรวม ดังสมการ
- อออออออออออออออออออออออออออออออ
- ρ คือความหนาแน่นของวัตถุ (หน่วย กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
- m คือมวลรวมของวัตถุ (หน่วย กิโลกรัม)
- V คือปริมาตรรวมของวัตถุ (หน่วย ลูกบาศก์เมตร)
ความหนาแน่นเป็นสมบัติเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิด นั่นหมายความว่า สารขนิดเดียวกันไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม ความหนาแน่นของสารนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ
ตารางแสดงค่าความหนาแน่นของสารบางชนิดที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และความดัน 1 บรรยากาศ

- สสารที่หนาแน่นที่สุดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนโลก คือ ธาตุอิริเดียม มีความหนาแน่นประมาณ 22,650 kg/m3.
- น้ำที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่น 1,000 kg/m3 หรือ 103 kg/m3 ใช้เป็นค่ามาตรฐานของความหนาแน่นน้ำ
การเปรียบเทียบความหนาแน่นของวัตถุ
อออออ เมื่อนำวัตถุหย่อนลงในของเหลวแล้วสังเกตการลอยหรือการจมของวัตถุในของเหลว สามารถเปรียบเทียบความหนาแน่นของวัตถุกับความหนาแน่นของของเหลวนั้นได้ ดังนี้
รูปแสดงผลของวัตถุในของเหลว
จากรูปบน วัตถุ A จมอยู่ที่ก้นภาชนะแสดงว่า ความหนาแน่นของวัตถุ A มากกว่าความหนาแน่นของของเหลว วัตถุ B ลอยปริ่มๆผิวของเหลว แสดงว่าวัตถุ B มีความหนาแน่นเท่ากับความหนาแน่นของของเหลว วัตถุ C ลอยพ้นผิวของเหลว แสดงว่าวัตถุ C มีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของของเหลว
รูปแสดงการเปรียบเทียบความหนาแน่น อยู่บนความหนาแน่นน้อย อยู่ล่างความหนาแน่นมาก
(ที่มา : http://kruphysics-satri3.blogspot.com/p/blog-page.html)
อออออ อาจบอกความหนาแน่นของสารใดๆ เป็น "ความหนาแน่นสัมพัทธ์" (relative density) โดยความหนาแน่นสัมพัทธ์ของสารใดๆ เป็นความหนาแน่นของสารนั้นเทียบกับความหนาแน่นของสารอ้างอิง ซึ่งนิยมใช้น้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส (เป็นอุณหภูมิที่น้ำมีความหนาแน่นสูงที่สุด)
อออออ ซึ่งเขียนเป็นความสัมพัทธ์ได้ว่า
(ที่มา : http://kruphysics-satri3.blogspot.com/p/blog-page.html)
อออออ อาจบอกความหนาแน่นของสารใดๆ เป็น "ความหนาแน่นสัมพัทธ์" (relative density) โดยความหนาแน่นสัมพัทธ์ของสารใดๆ เป็นความหนาแน่นของสารนั้นเทียบกับความหนาแน่นของสารอ้างอิง ซึ่งนิยมใช้น้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส (เป็นอุณหภูมิที่น้ำมีความหนาแน่นสูงที่สุด)
อออออ ซึ่งเขียนเป็นความสัมพัทธ์ได้ว่า

การหาค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของสาร เช่น ความความหนาแน่นสัมพัทธ์ของทอง โดยพิจารณาจากตารางด้านบน ทองมีความหนาแน่น 19.3 x 103 kg/m3ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของทองมีค่าเท่ากับ
ออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออ 

ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ 19.3 แสดงว่า ทองมีความหนาแน่นเป็น 19.3 เท่าของความหนาแน่นของน้ำ
แหล่งอ้างอิง : http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1499-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%99?groupid=273
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น